สารบัญ

อบต. มีความสําคัญต่อชุมชน (หมู่บ้าน/ตําบล)ดังนี้

          ๑. เป็นองค์กรที่ทําหน้าที่พัฒนาตําบล ให้เจริญก้าวหน้าทั้งด้านเศรษฐกจิ สังคม และวัฒนธรรม

          ๒. เป็นหน่วยประสานทรัพยากรระหว่าง อบต. กับท้องถิ่นอื่น ๆ รวมทั้งหน่วยราชการ และหน่วยเอกชนอื่น ๆ

          ๓. เป็นเวทีประชาธิปไตยของประชาชนในการเลือกสมาชิกสภาท้องถิ่น(สมาชิกสภา อบต.) เขาไปมีส่วนร่วมในการ ตัดสินใจใช้งบประมาณ รายได้ ทรัพย์สินและระดมทุนเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาท้องถิ่น

          ๔. เป็นการส่งเสริมและพัฒนาคนในท้องถนิ่ ให้ทํางานเพื่อท้องถิ่นของตนก่อให้เกิดการจ้างงานขึ้นในท้องถิ่น เช่น สมาชิกสภา อบต. พนักงานและลูกจ้างของ อบต.

          ๕. ส่งเสริมสิทธิและหน้าที่ของประชาชนให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นตรวจสอบการทํางานและใช้สิทธิ ถอดถอน ผู้แทนของตน(สมาชิกสภา)ที่ไม่ทํางานเพื่อประโยชน์ของท้องถิ่น

โครงสร้างอบต.ประกอบด้วย

          ๑.สภาองค์การบริหารส่วนตําบล (สภา อบต.)

          ๒.คณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตําบล (นายก อบต. และรองนายก อบต.)

สมาชิก อบต. มีหน้าที่อะไรบ้าง

          ๑. ให้ความเหน็ชอบแผนพัฒนาตําบล

          ๒. ให้ความเห็นชอบร่างข้อบังคับตําบล / ร่างข้อบังคับงบประมาณรายจ่ายประจําปี

          ๓. ควบคุมการทํางานของคณะผู้บริหาร

          ๔. เข้าร่วมประชุมสภา อบต. ตามสมัยประชุม

คณะผู้บริหาร อบต. (นายก อบต. และรองนายก อบต.) มีหน้าที่อะไรบ้าง

          ๑. บริหารงานของอบต. ให้เป็นไปตามข้อบังคับ และแผนพัฒนาตําบล

          ๒. จัดทําแผนพัฒนาตําบลและข้อบังคับงบประมาณรายจ่ายประจําปีเสนอต่อสภาอบต.

          ๓. รายงานผลการทํางาน และการใช้เงินสภา อบต. ทราบ อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง

          ๔. ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่ทางราชการมอบหมาย เข้าร่วมประชุมกับสภา อบต. ตามสมัยประชุม

บทบาทหน้าที่ของสมาชิกองค์การบริหารส่วนตําบลในฐานะฝ่ายนิติบัญญัติ

          ในฐานะฝ่ายนิติบัญญัติซึ่งเป็นผู้ที่จะต้องตรา ข้อบังคับตําบลออกมาใช้ในการดูแลสวัสดิการ ตลอดจน ทุกข์และ สุข ของประชาชนรวมทั้งมีอํานาจหน้าที่ถอดถอนผู้บริหารหรือสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตําบลดังนั้นจึงต้อง เป็นผู้ที่ยึดมนั่นในหลักการประชาธิปไตยทื่ต้องเผยแพร่และปลูกฝังแนวคิดประชาธิปไตย ไปยังประชาชนในตําบล

          แนวทางปฎิบัติในด้านบทบาทและหน้าที่ในฐานะฝ่ายนิติบัญญัติ มีดังนี้

          ๑. ต้องยึดมั่นในกติกาประชาธิปไตย เช่น การเลือกตั้งดดยเสรี การใช้สิทธิคัดค้าน การโต้แย้ง การแสดงความคิดเห็น อย่างกว้างขวาง การยอมรับและเคารพสิทธิของผู้อื่นการยอมรับความศักดิ์สิทธิ์ของกฏหมาย ฯลฯ

          ๒. ต้องมีวิถีการดําเนินชวีิตและบุคลิกลักษณะที่เป็นการส่งเสริมประชาธิปไตย เช่น เป็นผู้มีจิตใจกว้างขวาง ฟังเคารพ ในเหตุผล

ประชาชนในเขตอบต. มีสิทธิและหน้าที่ดังนี้

          ๑. มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภา อบต.

          ๒. ถอดถอนสมาชิกหรือผู้บริหาร อบต.

          ๓. เสนอให้ออกข้อบังคับตําบล

          ๔. แสดงเจตนารมณ์ในการรวม อบต.

          ๕. เข้าฟังการประชุมสภา อบต.

          ๖. เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการการซื้อ การจ้าง โดยวิธีสอบราคา ประกวดราคา และวิธีพิเศษของ อบต. อย่างน้อยคณะละ 2 คน

          ๗.มีหน้าที่ไปเลือกตั้งสมาชิกสภา อบต.

          ๘. ปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับตําบล

          ๙. เสียภาษีแก่ อบต.

          ๑๐. สนับสนุนและร่วมกิจกรรมกับ อบต.

          ๑๑. ติดตามและดูแลการใช้จ่ายงบประมาณของ อบต.

          ๑๒. ร่วมกันเสริมสร้างชุมชน และประชาคมหมู่บ้าน ของตนให้เข้มแข็ง

          ๑๓. ได้รับบริการสาธารณะ และการบําบัดทุกข์ บํารุงสุข จาก อบต. ตามอํานาจหน้าที่ของ อบต.